ประกาศผลการคัดเลือก
เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565

โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน CMMI® ขอขอบคุณผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทุกท่านที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
และขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนสนับสนุนการทำมาตรฐาน CMMI ปี 2565

เจ้าหน้าที่จะติดต่อท่านเพื่อนัดหมายปฐมนิเทศโครงการต่อไป

Capability Maturity Model Integration Promotion Project

โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน CMMI®
(CMMI Project)

Capability Maturity Model Integration (CMMI®) โดยสถาบัน CMMI ประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก CMMI® เป็นแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตและการบริการด้านซอฟต์แวร์ให้มีการบริหารจัดการโครงการที่ดี มีวิธีการวัดผลหรือการประเมินกระบวนการที่เป็นมาตรฐาน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพ การสนับสนุนผู้ประกอบการในการปรับปรุงกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการบริการ (Software Products and Services)ด้วยมาตรฐานนี้ จึงนับเป็นกลไกสำคัญที่ไม่เพียงจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ยังทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในเวทีซอฟต์แวร์ระดับโลก อีกด้วย

โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน CMMI® มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการพัฒนาและการบริการให้มีคุณภาพ โดยโครงการฯ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการประเมินมาตรฐาน CMMI® แล้วอย่างเป็นทางการ

บทความน่ารู้

[บทความน่ารู้ : Nov 8, 2021]

5 เคล็ดลับสำหรับผู้นำการพัฒนากระบวนการทำงาน

เราทราบกันดีว่ากระบวนการที่ดีจะช่วยลดปัญหา เพิ่มคุณภาพของการผลิตซอฟต์แวร์ สร้างการเรียนรู้ในการทำงานให้กับพนักงานในระยะยาว ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ นอกจากนี้ กระบวนการที่ดียังช่วยให้เราผลิตสินค้าหรือบริการในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างเหมาะสมซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ ผลกำไร และชื่อเสียงให้กับองค์กร ...

[บทความน่ารู้ : July 1, 2021]

ทำ Process Improvement อย่างไรให้เหมาะสมและเกิดความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนเเปลงในยุคปัจจุบัน

เเน่นอนว่าเป้าหมายหนึ่งของการสร้างกระบวนการคือคุณภาพ และสิ่งที่จะช่วยให้เรารู้ว่าต้องทำอะไรเพื่อสร้างสินค้าและ/หรือบริการที่ดีมีคุณภาพก็คือมาตรฐาน คุณทราบหรือไม่ว่าอีกเป้าหมายหนึ่งของกระบวนการคือความคล่องตัว และลดความซับซ้อน ...

[บทความน่าร : May 6, 2021]

การมีกระบวนการทำงานที่ดีสำคัญอย่างไรกับบริษัท SME

เราเป็นเเค่บริษัทเล็กๆ มีอะไรก็คุยกันเเละทำให้เสร็จ การมีกระบวนการทำงานจะสำคัญอย่างไร หลายคนมีคำถามในใจ ถ้าคุณมีคนเเค่สองหรือสามคนในบริษัท การคุยกันเเละตัดสินใจเลยว่าจะทำอย่างไรก็อาจจะง่าย คุณสามารถมีเวลาพูดคุยเเละหาทางทำงานร่วมกันได้ คุยกับทุกคนได้ ...

วัตถุประสงค์

  • สนับสนุนผู้ประกอบการในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและบริการด้านซอฟต์แวร์ และผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI®
  • กระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับปรุงกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ตามมาตรฐาน CMMI® อย่างต่อเนื่อง และสามารถต่อยอดสู่ระดับวุฒิภาวะที่สูงขึ้น
  • สนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ สร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement-SPI)

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และบริการ
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการประยุกต์ใช้ และขอการรับรองมาตรฐาน CMMI®

การสนับสนุนและเงินสนับสนุน

โมเดล

  • CMMI Development (CMMI-DEV)
  • CMMI Services (CMMI-SVC)

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่เคยทำ CMMI และสนใจที่จะขอรับการสนับสนุนในโมเดล DEV หรือ SVC หรือผู้ประกอบการที่เคยทำ DEV แล้วและอยากทำ SVC เพื่อสร้างมาตรฐานบริการ

เงินสนับสนุน

CMMI-DEV/SVC Level 2

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

CMMI-DEV/SVC Level 3

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 400,000 บาท

CMMI-DEV/SVC Level 5

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 400,000 บาท

  • หมายเหตุ จำนวนเงินที่ระบุไว้เป็นการสนับสนุนตลอดโครงการ
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เคยทำ CMMI แล้วและใกล้กำหนดระยะเวลาการประเมินใหม่ (ใกล้ครบ 3 ปี ) หรือหมดอายุเกิน 3 ปี หรือต้องการประเมินใหม่ด้วยโมเดลและระดับวุฒิภาวะเดิม หรือประเมินใหม่ด้วยโมเดลเดิมในระดับวุฒิภาวะที่สูงขึ้น

    เงินสนับสนุน

    CMMI-DEV/SVC Level 3

    75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

    CMMI-DEV/SVC Level 5

    75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

  • หมายเหตุ จำนวนเงินที่ระบุไว้เป็นการสนับสนุนตลอดโครงการ
  • คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัคร

    เป็นนิติบุคคลที่ต้องการขอการรับรอง หรือต่ออายุการรับรองมาตรฐาน CMMI®

    เป็นนิติบุคคล มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 และทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท

    เป็นกิจการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี และยื่นชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย

    เป็น SMEs ตามนิยาม สสว.

    คือ รายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท สำหรับภาคการผลิต และรายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับภาคบริการ

    ไม่เป็นผู้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ในโครงการประเภทเดียวกัน

    ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในการจัดสรรทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการร่วมโครงการฯ

    ต้องมีบุคลากรด้านการปรับปรุงกระบวนการ หรือ Software Process Improvement (SPI) เต็มเวลา อย่างน้อย 1 คน

    เพื่อให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้งโครงการฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การจัดสรรจำนวนบุคลากรด้านการปรับปรุงกระบวนการ (SPI) ให้พิจารณาตามขนาดขององค์กร

    ยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกข้อของโครงการฯ

    เงื่อนไขการสนับสนุน

    • ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องชำระค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน เต็มจำนวนโดยตรงให้แก่ผู้ให้บริการให้คำปรึกษา® CMMI Service Provider (CSP) และนำหลักฐานการชำระเงิน ยื่นขอเบิกเงินสนับสนุนจากโครงการฯ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
    • โครงการฯ จะสนับสนุนค่าที่ปรึกษาและค่าตรวจประเมิน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่เกิดขึ้นจากการว่าจ้างที่ปรึกษา (CSP) เท่านั้น
    • โครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะสนับสนุนเฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ดำเนินกิจกรรมและเข้ารับการประเมินภายในระยะเวลาที่ระบุในแผนการดำเนินงานที่นำเสนอเท่านั้น หากมีเหตุอันไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนงาน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องทำหนังสือแจ้งถึงโครงการฯ หากไม่ปฏิบัติตาม โครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุน
    • โครงการฯ จะสนับสนุนเฉพาะผู้ที่ผ่านการประเมินและมีผลประกาศอย่างเป็นทางการจากสถาบัน CMMI ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ชื่อหน่วยงานที่ผ่านการรับรองจะต้องตรงกับชื่อหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน
    • การเบิกจ่ายเงินสนับสนุนเป็นการชำระเพียงครั้งเดียวในลักษณะการชำระคืน (Reimbursement) ตามเงื่อนไข เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านการประเมินและมีผลอย่างเป็นทางการจากสถาบัน CMMI ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ กระบวนการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนจะเริ่มเมื่อโครงการฯ เข้าประเมินปิด และได้รับเอกสารการขอเบิกจ่ายถูกต้องครบถ้วน

    เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

    • ต้องจัดส่งแผนการดำเนินงาน (Action Plan) และหากมีการปรับแผนต้องแจ้ง พร้อมส่งแผนงานฉบับใหม่ให้กับโครงการฯ
    • ต้องจัดทำ และส่งรายงานความก้าวหน้ารายเดือน (Monthly Progress Report) ในรูปแบบที่กำหนด ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน
    • ต้องยินยอมให้ผู้เชี่ยวชาญสมทบเข้าสังเกตการณ์การดำเนินงาน โดยต้องส่งแผนการดำเนินงานให้โครงการฯ และผู้เชี่ยวชาญสมทบตามระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนด
    • ต้องยินยอมให้โครงการฯ และผู้เชี่ยวชาญเข้าติดตามความก้าวหน้าตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการฯ
    • ยินดีให้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ดัชนีอุตสาหกรรม และ/หรือการศึกษาวิเคราะห์อื่นๆ เพื่อประโยชน์ของโครงการฯ

    เกณฑ์การพิจารณา

    • ส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร(ทางออนไลน์) ถูกต้อง ครบถ้วน ภายในเวลาที่กำหนด
    • มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพกระบวนการพัฒนาและการบริการด้านซอฟต์แวร์
    • มีความพร้อมด้านการเงิน บุคลากรและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม CMMI®
    • ผู้บริหารและบุคลากรมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำมาตรฐาน CMMI®
    • ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการจัดสรรกำลังคนและทรัพยากรอื่นๆ อย่างเหมาะสม
    • บริษัทมีงานโครงการทั้งระยะสั้นและยาว เพื่อเข้ารับการประเมินตามเวลาที่กำหนด
    • มีประสบการณ์การทำมาตรฐานสากล เช่น ISO/IEC 20000, ISO/IEC 27000, ISO/IEC 29110/ ITIL จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
    • ผลการคัดเลือกของคณะกรรมการให้ถือเป็นสิ้นสุด

    ปฏิทินกิจกรรม

    ระยะเวลาโครงการ​ พฤษภาคม 2565 – เมษายน 2567 (รวม 24 เดือน)

    ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัคร

    3 พ.ค. – 29 ก.ค. 65

    ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัครผ่านทางเวบไซต์

    สัมมนาเปิดโครงการ

    19 พ.ค. 65

    สัมมนา “เสริมเก่ง เร่งโต พร้อมโชว์ศักยภาพสู่สากลในยุคดิจิทัล กับโครงการ CMMI2565”
    วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น.
    ออนไลน์ผ่าน Webex
    [ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา]

    รับสมัครเข้าร่วมโครงการ

    3 พ.ค. – 29 ก.ค. 65

    ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ก่อนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเวบไซต์ พร้อมลงจองเวลาสัมภาษณ์ ส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครทางออนไลน์
    โดยคณะผู้จัดสงวนสิทธิ์ลงจองเวลาสันภาษณ์ สำหรับผู้สมัครที่ส่งเอกสารครบถ้วนทางออนไลน์แล้วเท่านั้น

    สัมภาษณ์และคัดเลือก

    15 มิ.ย. - 15 ส.ค. 65

    คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารและนัดหมายสัมภาษณ์
    ณ. อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี

    ประกาศผลคัดเลือก

    15 ก.ย. 65

    ประกาศผลคัดเลือกผ่านทางเวบไซต์เท่านั้น
    http://www.swpark.or.th/cmmi/

    ปฐมนิเทศ

    7 ต.ค. 65

    ชี้แจงข้อตกลง แนวทางดำเนินการ การเบิกจ่าย และวิธีการใช้ระบบรายงานผลดำเนินการ ณ. อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี

    กิจกรรมรับคำปรึกษาปรับปรุงกระบวนการและประเมินขอการรับรอง

    ต.ค. 65 – มี.ค. 67

    ระยะเวลาดำเนินการ ตามระดับวุฒิภาวะ ดังนี้

    • ML 2: 12 เดือน
    • ML 3: 16 เดือน
    • ML 5: 18 เดือน
    หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


    การดำเนินโครงการ

    วิธีสมัครเข้าร่วมโครงการฯ

    เอกสารประกอบการสมัคร

    เอกสารทุกฉบับลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราบริษัท ลงนามโดยผู้มีอำนาจตามปรากฏในหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

    ใบสมัคร

    พิมพ์ออกมาจากการสมัครออนไลน์

    ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

    (Company Profile) 1 ชุด

    ข้อเสนอโครงการ

    จัดทำโดยผู้ให้บริการให้คำปรึกษาด้าน CMMI (CMMI Service Provider – CSP) ตามหัวข้อเทมเพลต http://www.swpark.or.th/cmmi/ProjectProposal.docx

    หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

    เอกสารสำเนาอายุไม่เกิน 1 เดือน

    หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ. 2)

    เอกสารสำเนาอายุไม่เกิน 1 เดือน

    หนังสือผู้ถือหุ้น (บอจ. 5)

    เอกสารสำเนาอายุไม่เกิน 1 เดือน

    งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี

    เอกสารสำเนา

    บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม

    เอกสารสำเนา

    Testimonials

    What they are saying about us

    CMMI ให้โอกาส...ได้รับการสนับสนุนและร่วมงานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

    ยงยุทธ ทรงศิริเดช

    กรรมการผู้จัดการ

    บริษัท ฟีดแบค 180 จำกัด

    CMMI สามารถประยุกต์ใช้กับโครงการที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ได้ และเราก็พิสูจน์แล้วว่าทำได้ และทำได้ดีจริงๆ

    วรินทร สีสุขดี

    Assistant General Manager

    บริษัท เมอร์เคเทอร์ จำกัด

    CMMI ช่วยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ขยายธุรกิจได้อย่างราบรื่นไปยังกลุ่มต่างประเทศ

    ณัฐจิระ ฮอนดา

    กรรมการผู้จัดการ

    บริษัท พรอมท์นาว จำกัด

    เปลี่ยนจากมวยวัด...เป็นแคทวอล์ค ได้ด้วยการทำมาตรฐาน CMMI รูปแบบการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

    บัณฑิตา พึ่งพุ่ม

    กรรมการ

    บริษัท วีเจ้นซ์ จำกัด

    มาตรฐาน CMMI ช่วยตอบฟีดแบคจากลูกค้า ที่อยากได้บริษัทดีๆ ให้ได้ซอฟต์แวร์ดีๆ มีคุณภาพและสามารถดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องได้

    พรพิมล ไตรยปัญจวิทย์

    กรรมการผู้จัดการ

    บริษัท วีพี แอดวานซ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด

    News&Activities

    ข่าวสาร / กิจกรรม

    บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2559

    Read More

    บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2562

    Read More

    บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2563

    Read More

    Gallery

    ภาพกิจกรรม

    • ทั้งหมด
    • คลังภาพกิจกรรม
    • วีดีโอคลิป

    #คลังภาพ

    ปฐมนิเทศโครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน CMMI

    #คลังภาพ

    สัมภาษณ์คัดเลือกโครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน CMMI

    #คลังภาพ

    งานแถลงข่าวไทยรั้งแชมป์ CMMI ในอาเซียน CMMI Achievement Celebration 2018

    #วีดีโอคลิป

    งานแถลงข่าวไทยรั้งแชมป์ CMMI ในอาเซียน CMMI Achievement Celebration 2018

    #วีดีโอคลิป

    ถอดประสบการณ์ ... กับฐานะแชมป์ CMMI ในอาเซียน

    #วีดีโอคลิป

    สวทช. ผนึก ดีป้า โชว์ขุนพลซอฟต์แวร์ไทยรั้งแชมป์ CMMI ในอาเซียน

    #วีดีโอคลิป

    ไทยครองแชมป์3ปีซ้อน พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับรองมาตรฐานCMMI มากที่สุดในอาเซียน

    ×

    Supported by

    ส่งเสริมและสนับสนุนโดย...